ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก ผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 27 มกราคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) 
เด็กที่บกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดดเจน การปรับปรุงระดับคุณภาพเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงเมื่อพูด แบ่งเป็น 
  1. ความบกพร่องในการด้านการปรุงเสียง (Articulator  Disorders )
  2. ความบกพร่องของจัวหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow  Disorders)
  3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice  Disorders)
เด็กที่บกพร่องทางภาษา หมายถึง  การขาดความสามารถเข้าใจความหมายของไคำพูด หรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นถ้อยคำได้ส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย (Delayed Language )
ความผิดปกตกทางการพูดอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  • อ่านไม่ออก (alexia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิงฃจำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's syndrome
  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
  • ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria )
  • คำนวณไม่ได้ (acalculia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia )
  • อ่านไม่ออก ( alexia )
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ( Children with Physical and Health Impaiments) หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป เจ็บป่วยเรื้อรัง มีปัญหาทางระบบประสาทและมีความลำบากในการเคลื่อนไหว
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ซี.พี. (Cerebral Palsy)
  • กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) ได้แก่ โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ,โปลิโอ
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสีียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มบ่อย
  • หิงและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ


การนำประยุกต์ใช้ 
     สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่บกพร่องทางการพูดและภาษา เกิดความรู้เข้าใจในส่วนความบกพร่องที่เกิดขึ้น ให้วิธีการช่วยเหลือ การดูแล รวมไปถึงเด็กที่มีอาการชักมีวิธีการส่งเสริมและรับมืออย่างไร เช่น จับเด็กนอนตะแคงบริเวณที่ราบ ไม่ควรใช้ของแข็งควรใช้ผ้าพับอย่างหนาให้เด็กกัดแทน เป็นต้น


การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง สนุกสนานทุกครั้งที่ได้ร่วมกิจกรรม และมีการจดบันทึกสั้นสำหรับตนเอง
ประเมินเพื่อน  เพื่อนจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติดีเยี่ยม
ประเมินอาจารย์  การเรียนในครั้งนี้อาจารย์เน้นย่ำสาระที่สำคัญพร้อมกับยกตัวอย่างระหว่างการบรรยาย ถึงแม้จะเนื้อหาเยอะ อาจารย์กสามารถสรุป นำบทบาทสมมติให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจ 












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น