ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก ผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 27 มกราคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) 
เด็กที่บกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดดเจน การปรับปรุงระดับคุณภาพเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงเมื่อพูด แบ่งเป็น 
  1. ความบกพร่องในการด้านการปรุงเสียง (Articulator  Disorders )
  2. ความบกพร่องของจัวหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow  Disorders)
  3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice  Disorders)
เด็กที่บกพร่องทางภาษา หมายถึง  การขาดความสามารถเข้าใจความหมายของไคำพูด หรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นถ้อยคำได้ส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย (Delayed Language )
ความผิดปกตกทางการพูดอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  • อ่านไม่ออก (alexia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิงฃจำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's syndrome
  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
  • ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria )
  • คำนวณไม่ได้ (acalculia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia )
  • อ่านไม่ออก ( alexia )
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ( Children with Physical and Health Impaiments) หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป เจ็บป่วยเรื้อรัง มีปัญหาทางระบบประสาทและมีความลำบากในการเคลื่อนไหว
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ซี.พี. (Cerebral Palsy)
  • กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) ได้แก่ โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ,โปลิโอ
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสีียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มบ่อย
  • หิงและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ


การนำประยุกต์ใช้ 
     สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่บกพร่องทางการพูดและภาษา เกิดความรู้เข้าใจในส่วนความบกพร่องที่เกิดขึ้น ให้วิธีการช่วยเหลือ การดูแล รวมไปถึงเด็กที่มีอาการชักมีวิธีการส่งเสริมและรับมืออย่างไร เช่น จับเด็กนอนตะแคงบริเวณที่ราบ ไม่ควรใช้ของแข็งควรใช้ผ้าพับอย่างหนาให้เด็กกัดแทน เป็นต้น


การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง สนุกสนานทุกครั้งที่ได้ร่วมกิจกรรม และมีการจดบันทึกสั้นสำหรับตนเอง
ประเมินเพื่อน  เพื่อนจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติดีเยี่ยม
ประเมินอาจารย์  การเรียนในครั้งนี้อาจารย์เน้นย่ำสาระที่สำคัญพร้อมกับยกตัวอย่างระหว่างการบรรยาย ถึงแม้จะเนื้อหาเยอะ อาจารย์กสามารถสรุป นำบทบาทสมมติให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจ 












วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 20 มกราคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
 ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 
1. กลุ่มเด็กทีี่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทาฃสติปัญญา "เด็กปัญญาเลิศ Gifted Child "

Kim ung-Yong
เป็นเด็กที่มี IQ สูงที่สุดในโลก ระดับ 210 ในการแก้โจทย์ปัญญา อายุ 15 ปี จบปริญญาเอก


                                                                     Akrit Jaswal
                   เป็นเด็กที่ฉลาด ในระดับ IQ 146  เขาเรียนรู้การเป็นหมอผ่าตัดด้วยการหนังสือ

 
                                                           น้อง ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี



2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะmทางความบกพร่อง
  1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
  4. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  5. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
  6. เด็กออทิศติก
  7. เด็กพิการซ้ำซ้อน

1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)  หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับเด็กอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
เด็กเรียนช้า  IQ อยู่ที่ระดับ 71-90
เด็กปัญญาอ่อน IQ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู็ทักษะด้านต่าง ๆ ได้ ต้องการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
  2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34  ไม่สามารถเรียนได้ แต่ช่วยเหลือตนเองกิจวัตรประจำวันแบบง่าย ๆ ได้  โดยทั่วไปเรียกว่า "C.M.R Custodial Mental Retartion" 
  3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49  ฝึกอบรมเรียนทักษะเบื้องต้นและทำงานง่าย ๆ ได้ โดยทั่วไปเรียกว่า "T.M.R Trainable Mentally Retarded"
  4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70  เรียนระดับประถม ฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ ทั่วไปเรีกว่า "E.M.R Educable Mentally Retarded"
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome  สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 
อาการ


  • ศรีษะเล็กและแบน คอสั้น
  • หน้าแบน ดั้งแบน
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
  • ใบหูเล้ฏและอยู่ต่ำ 
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโตฃช่องปากแคบ ลิ่นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
  • เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
  • บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • อารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ร่างเริง เป็นมิตร
  • มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  • อวัยวะทางเพศเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งชายและหญิง
การตรวจวินิฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์
  • เจาะน้ำคร่ำ

2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูยเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับหังเสียงต่าง ๆ ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ
เด็กหูตึง ตั้งแต่ระดับน้อยจึงรุนแรง
เด็กหูหนวก เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากที่สุด หมดโอกาศที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน ใช้ภาษามือในการสื่อสาร ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

3.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ( Children with Visual Impairments )  
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง แบบเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน จำแนกได้ 2 ประเภท
เด็กตาบอด  คือ เด็กที่ไม่สามารถเห็นได้เลย ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้ มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ระยะ 6/60 20/200 และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท  คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่าปกติ มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดกว่างไม่เกิน 30 องศา


การนำไปประยุกต์ใช้ 
     สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่บกพร่องทางสติปัญญา ลักษณะดาวน์ซิมโดรม การรับมือและแก้ปัญญาที่อาจจะเกิดขึ้น นำไปแก้้ปัญหาที่ตรงจุด สามารถบำบัดได้อย่างอย่่างถูกวิธีมากขึ้น เช่น ดาวน์ซิมโดรมครูเข้าหาเด็กด้วยวิธีการสร้างความอบอุ่น เรียกชื่อเด็ก และให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง และนำเรื่องราวจากการยกตัวอย่างมากประมวลให้เกิดความรู้จากตัวเองอีกครั้ง
ประเมินเพื่อน  เพื่อนทุกคนตั้งใจ และจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ มีพูดคุยบ้างแต่ตั้งใจดี ทำให้เกิดความสนุกสนานระหว่างการเรียน
ประเมินอาจารย์  การเรียนในครั้งนี้อาจารย์เน้นย่ำสาระที่สำคัญพร้อมกับยกตัวอย่าง มีวิดีโอ ในการประกอบการสอนทำให้เกิดสนใจมากขึ้น นอกจากฟังคำบรรยายเฉย อาจารยืมีวิธีการสอนที่เน้นถึงการนำไปใช้ที่เป็นจริงทำให้นักศึกษานำไปปฏิบัติได้และเกิดความรู้ความเข้าใจได้จากวิดีโอประกอบการสอน