เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 17 มีนาคม 2560 กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้ที่ได้รับ
- สอบกลางภาค รายวิชาการจัดประสบการณการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 08.30 - 10.00 น.
- เรียนเนื้อหา เรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษษสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เด็กที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาศในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน โโยมีครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตบอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน เด็กปกติยอมรับเกิดความเข้าใจถึงความแตกต่าง และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) การศึกษาสำหรั
บทุกคน เด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้าการศึกษา จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้้มีการบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู็ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
- การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนโโยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติก และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัย
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือแยกประเภทเด็ก
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิฉัยโรค
- ครูสามารถชี้แจงให้เห็นพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวตอความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต แบ่งเป็น แบบการนับอย่างง่าย ๆ แบบการบันทึกต่อเนื่อง
การนับอย่าง่าย
- นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
- กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
- ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
- ให้รายละเอียด
- เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในข่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรม โดยไม่เข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
ชมวิดีโอน้อง "ช่อแก้ว"
การนำไปประยุกต์ใช้
รับมือกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วางเงื่อนไขที่ชัดเจนและมีการกล่าวคำชมเชยที่ปรากฏให้เห็น ไม่ชื่นชมทุกการกระทำตลอด เรียกใช้ให้เด็กได้เคลื่อนไหวเพื่อลดการเบื่อหน่ายในเด็กที่เป็นสมาธสั้น
การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟัง แต่งกายเรียบร้อย ให้เกียรติอาจารย์ด้วยการเป็นผู็ฟังที่ดี และนำเรื่องราวจากการยกตัวอย่างมากประมวลให้เกิดความรู้จากตัวเองอีกครั้ง
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย และจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ มีพูดคุยบ้างแต่ตั้งใจดี ทำให้เกิดความสนุกสนานระหว่างการเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี เตรียมการสอนตามระเบียบที่วางไว้ เน้นย้ำถึงความสำคัญ ยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย ทำให้เกิดความเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น