ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก ผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 10 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)  หมายถึง มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต้ำ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาๆ ไมได้ เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
จำแนกเด็กตามกลุ่มอาการ



ด้านพฤติกรรม (Conduct Disforders)
  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉันเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก โทษคนอื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารติด
  • หมกมุนในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจ (Attention and Concentration)
  • จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใด ๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Autistic)
  • กระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยคลอดเวลา รบกวนหรือเรียกร้องความสนใจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้วย
  • เฉื่อยชา 
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
  • โรคอ้วน
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
เด็กออทิศติก (Autistic)

เด็กสมาธิสั้น  (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะ 3 ประการ
Inattentiveness (สมาธิสั้น)   คือ อาการวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ ใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
Hyperactivity  (ซนไม่อยู่นิ่ง) คือ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ยุกยิก เกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ชอบคุยเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง ชอบปีนป่าย นั่งไม่ติดกับที่
Impulsiveness  (หุนหันพลันแล่น)  คือ  ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบสอดแทรกเวลาผู้อื่นพูดคุยกัน ทำอะไรรุนแรง ขาดความยับยั้งชั้งใจ มักทำอะไรโดยไไม่ยั้งคิด 

สาเหตุ  ความผิดปกติสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน , นอร์อิพิเนฟริน ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า

ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย

Methylphenidate


Atomoxetin




ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
  • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
  • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  • หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อารมณ์หวั่นไหวง่านต่อสิ่งเร้า
  • ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
  • พูดเพ้อเจ้อ
การบำบัดเพื่อนลดภาวะไม่อยู่นิ่ง


9.เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน , เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด , เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


     ภาพประกอบระหว่างการเรียน แสดงบทบาทสมมติเด็ก
                    ที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์




การนำไปประยุกต์ใช้ 
     แก้ไขรับมือกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วางเงื่อนไขที่ชัดเจนและมีการกล่าวคำชมเชยที่ปรากฏให้เห็น ไม่ชื่นชมทุกการกระทำตลอด เรียกใช้ให้เด็กได้เคลื่อนไหวเพื่อลดการเบื่อหน่ายในเด็กที่เป็นสมาธสั้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง แต่งกายเรียบร้อย ให้เกียรติอาจารย์ด้วยการเป็นผู็ฟังที่ดี และนำเรื่องราวจากการยกตัวอย่างมากประมวลให้เกิดความรู้จากตัวเองอีกครั้ง
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย และจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ มีพูดคุยบ้างแต่ตั้งใจดี ทำให้เกิดความสนุกสนานระหว่างการเรียน
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี เตรียมการสอนตามระเบียบที่วางไว้ เน้นย้ำถึงความสำคัญ ยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย ทำให้เกิดความเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น