ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก ผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 28 เมษายน 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครู
  1. ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้ติดหน้าต่างหรือประตู
  2. ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดโดยใกล้โต๊ะครู
  3. จัดให้เด็กได้นั่งกับนักเรียนที่ไม่ค่อยหยุกหยิก ไม่ค่อยเล่น ในระหว่างที่เรียน
  4. ให้เด็กทำกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
กิจกรรมการเล่น  คือ การเล่นที่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจเองโดยอาศัยการเป็นสื่อ ซึ่งในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง เป็นต้น

ยุทธศาสตร์การสอน  
  1. เด็กพิเศษหลาย ๆ คน ไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  2. ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  3. จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  4. ครูจดบันทึก
  5. ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนและลการเอาอย่าง
  1. วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
  2. คำนึงถึงเด็กทุก ๆ คน
  3. ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-4 คน
  4. เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  1. ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  2. ทำโดย "การพูดนำของครู"
ลำดับการช่วยเหลือตนเอง
  1. แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นชั้นย่อยๆ (อธิบายส่วนย่อยๆ โดยละเอียด เช่น การรับประทานอาหาร บอกให้หยิบช้อน ช้อนอยู่ข้างๆ ด้านมือ หยิบขึ้นมาแล้วตักพอดีคำ ตักอาหารเข้าปาก เป็นต้น)
  2. เรียงลำดับตามขั้นตอน (เป็นกรณีที่เป็นเหตุการณ์ในขณะทำกิจวัตรตนเองไม่ได้ และทำได้ จึงต้องมีการวางแผนที่ละขั้น แล้วนำมาจัดโปรแกรม)
พื้นฐานทักษะทางการเรียน
เป้าหมาย 
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเเล็ก
  • การกรอกน้ำ 
  • ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ คือ ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ , รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  1. จัดกลุ่มเด็ก
  2. เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น
  3. ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  4. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  5. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  6. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  7. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนกิจกรรม
  8. มีอุปกรณ์ไว้สับเปี่ยนใกล้มือ
  9. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  10. พูดในทางที่ดี
  11. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  12. ทำบทเรียนให้สนุก
                                                        ภาพประกอบระหว่างการเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้ 
    ในการจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงการเรียกชื่อเด็ก ให้เกิดความเข้าใจ ครูต้องพูดซ้ำ ย้ำ ทวนให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ต้องสบตาระหว่างที่พูดคุย เลือกใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มเติมความน่าสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี จดเนื้อหาสาระที่สำคัญ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติ มีการถาม-ตอบ ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ 
ประเมินอาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพ ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี อธิบายเนื้อหาสาระ สอดแทรกทักษะการใช้ชีวิต และให้นักศึกษาตระหนักถึงข้อปฏิบัติในวิชาชีพอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น