ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก ผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 28 เมษายน 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครู
  1. ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้ติดหน้าต่างหรือประตู
  2. ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดโดยใกล้โต๊ะครู
  3. จัดให้เด็กได้นั่งกับนักเรียนที่ไม่ค่อยหยุกหยิก ไม่ค่อยเล่น ในระหว่างที่เรียน
  4. ให้เด็กทำกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
กิจกรรมการเล่น  คือ การเล่นที่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจเองโดยอาศัยการเป็นสื่อ ซึ่งในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง เป็นต้น

ยุทธศาสตร์การสอน  
  1. เด็กพิเศษหลาย ๆ คน ไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  2. ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  3. จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  4. ครูจดบันทึก
  5. ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนและลการเอาอย่าง
  1. วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
  2. คำนึงถึงเด็กทุก ๆ คน
  3. ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-4 คน
  4. เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  1. ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  2. ทำโดย "การพูดนำของครู"
ลำดับการช่วยเหลือตนเอง
  1. แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นชั้นย่อยๆ (อธิบายส่วนย่อยๆ โดยละเอียด เช่น การรับประทานอาหาร บอกให้หยิบช้อน ช้อนอยู่ข้างๆ ด้านมือ หยิบขึ้นมาแล้วตักพอดีคำ ตักอาหารเข้าปาก เป็นต้น)
  2. เรียงลำดับตามขั้นตอน (เป็นกรณีที่เป็นเหตุการณ์ในขณะทำกิจวัตรตนเองไม่ได้ และทำได้ จึงต้องมีการวางแผนที่ละขั้น แล้วนำมาจัดโปรแกรม)
พื้นฐานทักษะทางการเรียน
เป้าหมาย 
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเเล็ก
  • การกรอกน้ำ 
  • ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ คือ ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ , รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  1. จัดกลุ่มเด็ก
  2. เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น
  3. ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  4. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  5. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  6. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  7. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนกิจกรรม
  8. มีอุปกรณ์ไว้สับเปี่ยนใกล้มือ
  9. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  10. พูดในทางที่ดี
  11. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  12. ทำบทเรียนให้สนุก
                                                        ภาพประกอบระหว่างการเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้ 
    ในการจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงการเรียกชื่อเด็ก ให้เกิดความเข้าใจ ครูต้องพูดซ้ำ ย้ำ ทวนให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ต้องสบตาระหว่างที่พูดคุย เลือกใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มเติมความน่าสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี จดเนื้อหาสาระที่สำคัญ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติ มีการถาม-ตอบ ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ 
ประเมินอาจารย์  อาจารย์แต่งกายสุภาพ ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี อธิบายเนื้อหาสาระ สอดแทรกทักษะการใช้ชีวิต และให้นักศึกษาตระหนักถึงข้อปฏิบัติในวิชาชีพอยู่เสมอ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 21 เมษายน 2560  ณ  ศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือยุวกาชาด
 และกิจกรรมเยาวชน "กฐิน กุยยกานนท์" จังหวัดสมุทรปราการ

**ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเข้าค่ายฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง**


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 14 เมษายน 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

**ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากตรงกับวันหยุดราชการ วันสงกรานต์**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 7 เมษายน 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

**ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ไปราชการ**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 31 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ลากิจ**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 24 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

**สัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนค่ะ**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 17 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
  • สอบกลางภาค  รายวิชาการจัดประสบการณการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  08.30 - 10.00 น.
  • เรียนเนื้อหา เรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษษสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เด็กที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาศในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)  การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน โโยมีครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนเต็มเวลา (Mainstreaming)  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตบอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน เด็กปกติยอมรับเกิดความเข้าใจถึงความแตกต่าง และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) การศึกษาสำหรั
บทุกคน เด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้าการศึกษา จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม 
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้้มีการบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู็ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนโโยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติก และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
  • ครูไม่ควรวินิจฉัย 
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือแยกประเภทเด็ก
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิฉัยโรค
  • ครูสามารถชี้แจงให้เห็นพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวตอความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต แบ่งเป็น แบบการนับอย่างง่าย ๆ  แบบการบันทึกต่อเนื่อง
การนับอย่าง่าย
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียด
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในข่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรม โดยไม่เข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
                                                                 ชมวิดีโอน้อง "ช่อแก้ว"

                            ภาพประกอบระหว่างการเรียน








กิจกรรมวาดภาพดอกบัว

การวาดภาพโดยการสังเกตจากภาพแล้วบรรยายเกี่ยวลักษณะภาพ ซึ่ง เปรียบเสมือนว่าการเป็นครูในการสังเกตและดูพัฒนาการของเด็ก เกิดขึ้นอย่างไร มีขั้นตอนการพัฒนามากน้อยเพียงใด ครูเป็นผู้ค่อยสังเกตและให้การสนับสนุน ส่งเสริมในสิ่งที่เด็กแสดงออกมา




การนำไปประยุกต์ใช้ 
     รับมือกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วางเงื่อนไขที่ชัดเจนและมีการกล่าวคำชมเชยที่ปรากฏให้เห็น ไม่ชื่นชมทุกการกระทำตลอด เรียกใช้ให้เด็กได้เคลื่อนไหวเพื่อลดการเบื่อหน่ายในเด็กที่เป็นสมาธสั้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง แต่งกายเรียบร้อย ให้เกียรติอาจารย์ด้วยการเป็นผู็ฟังที่ดี และนำเรื่องราวจากการยกตัวอย่างมากประมวลให้เกิดความรู้จากตัวเองอีกครั้ง
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย และจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์ มีพูดคุยบ้างแต่ตั้งใจดี ทำให้เกิดความสนุกสนานระหว่างการเรียน
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี เตรียมการสอนตามระเบียบที่วางไว้ เน้นย้ำถึงความสำคัญ ยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย ทำให้เกิดความเข้าใจ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 10 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)  หมายถึง มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต้ำ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาๆ ไมได้ เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
จำแนกเด็กตามกลุ่มอาการ



ด้านพฤติกรรม (Conduct Disforders)
  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉันเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก โทษคนอื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารติด
  • หมกมุนในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจ (Attention and Concentration)
  • จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใด ๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Autistic)
  • กระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยคลอดเวลา รบกวนหรือเรียกร้องความสนใจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้วย
  • เฉื่อยชา 
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
  • โรคอ้วน
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
เด็กออทิศติก (Autistic)

เด็กสมาธิสั้น  (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะ 3 ประการ
Inattentiveness (สมาธิสั้น)   คือ อาการวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ ใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
Hyperactivity  (ซนไม่อยู่นิ่ง) คือ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ยุกยิก เกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ชอบคุยเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง ชอบปีนป่าย นั่งไม่ติดกับที่
Impulsiveness  (หุนหันพลันแล่น)  คือ  ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบสอดแทรกเวลาผู้อื่นพูดคุยกัน ทำอะไรรุนแรง ขาดความยับยั้งชั้งใจ มักทำอะไรโดยไไม่ยั้งคิด 

สาเหตุ  ความผิดปกติสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน , นอร์อิพิเนฟริน ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า

ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย

Methylphenidate


Atomoxetin




ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
  • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
  • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  • หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อารมณ์หวั่นไหวง่านต่อสิ่งเร้า
  • ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
  • พูดเพ้อเจ้อ
การบำบัดเพื่อนลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 3 มีนาคม 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์แจกอุปกรณ์ สีเมจิก ค่ะ  10 10 10 ไปเลยจ้า >< 

6.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)  หมายถึง เด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่ายกาย เด็ก LD

สาเหตุของ LD เกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่สมองไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ 
  1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  • อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้   

  2.   ด้านการเขียน (Writing Disorder)

  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เป็น สติถิ
     3.   ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าใจหลักเลขหน่วย สิบ,ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
     4. หลาย ๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้ายขวา
  • งุ่มง่ามการประสานงานของสายตา/กล้ามเนื้อไม่ดี
  • สมาธิไม่ดี (เด็กLDร้อยละ 15-20 มีสมาสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า
  • การวางแผนและการจัดระบบไม่ดี
  • สฟังคำสั่งสับสน
  • คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  • ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  • ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  • ถนัดซ้ายหรือทั้งซ้ายและขวา
  • ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
7. ออทิศติก (Autistic) หรือออทิซึ่ม (Autism)  หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึก และความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง ซึงจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิตไม่สามารถรักษาได้

ไม่สบตา ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว  ทักษะทางภาษาและสังคมจะต่ำกว่าทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่

 ออทิศติกเทียม  หมายถึง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจากการเลี้้ยงดู โดยปล่อยให้เด็กอยู่กับเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ มากจนเกินไป จนไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นได้

ออทิศติกอัฉริยะ  Autistic Savant

  •  กลุ่มที่คิดด้วยภาพ ใช้ความคิดแบบอุปนัย
  • กลุ่มความคิดโดยไม่ใช่ภาพ ใช้ความคิดแบบนิรนัย
                                                                   Iris  Grace 4 ขวบ

                                             daniel tammet จับตัวเลขเป็นภาพโดยใช้สีคูณ






Stephen Wiltshire วาดภาพเมื่องทั้งเมือง จากการดูเพียงรอบเดียว








การนำประยุกต์ใช้ 
     สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่บกพร่องทางการเรียนรู้ LD และเด็กที่เป็นออทิศติก เข้าใจถึงกระบวนการรับมือกับเด็กที่เป็นออทิศติกแบบรุนแรง ซึ่งอาจจะต้องใช้ความอดทน และใช้น้ำเสียงที่เข้มขึ้น พร้อมกับเรียกชื่อถาม และเข้าไปทำการแก้ไขทันที ซึ่งก็ต้องมองเป็นกรณีอีกครั้งว่าเด็กต้องการให้เข้าไปหาหรือไหม

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟัง และจดยันทึกระหว่างการบรรยาจากอาจารย์
ประเมินเพื่อน  เพื่อนมาตรงเวลา และจดบันทึกเนื้อหาระหว่างการบรรยายจากอาจารย์
ประเมินอาจารย์  การเรียนในครั้งนี้อาจารย์สอนเข้าใจง่าย แต่งกายเรียบร้อย ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 24 กุมภาพันธ์ 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


**สัปดาห์ของการสอบกลางภาค**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 17 กุมภาพันธ์ 2560  ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา




ความรู้ที่ได้รับ
เวลา 08.30 น. เด็กเข้าแถวเคารพธงชาติ เมื่อทำกิจกรรมหน้าแถวเสร็จสิ้นมีการเล่าความดีของตัวเองจากห้องเรียนของครูนก ต่อมากล่าวตอนรับและแนะนำคณะผู้ศึกษาดูงาน พร้อมกับเปิดโอกาศให้เด็กได้ตั้งคำถามพี่ที่มาศึกษาดูงาน จากนั้นเป็นช่วงออกกำลังตอนเช้า มีการสลับให้เด็กได้ออกมาทำทางกายบริหารและตามด้วยพี่จากศณะศึกษาดูงาน






เวลา 09.00 น. พบกับ ดร.วรนาท รักสกุลไทย (ป้าหนู) ณ ห้องประชุม กล่าวคำสวัสัดีและตอนรับอย่างเป็นกันเอง ให้ความรู้กับนักศึกษาที่มาในวันนี้โดยสังเขปเกี่ยวกับประวัติวามเป็นมาโรงเรียนเกษมพิทยา และชี้แจงการลงสังเกตในแต่ละห้อง

กลุ่มของดิฉันได้เข้าศึกษาในชั้น อนุบาล 3/1  มีน้องที่เป็นพิเศษจำนวน 4 คน ดังนี้
น้องไอโพน  อายุ 6 ขวบ 
      มีพัฒนาการล่าช้า เกิดจากลมชัก มักจะตั้งคำถามซ้ำๆ

น้องหยก อายุ 6 ขวบ
      มีพัฒนาการทางด้านการได้ยิน จึ่งต้องค่อยถามซ้ำและออกเสียงที่ชัดเจน เพื่อให้น้องประมวลผล แต่น้องจะไม่ค่อยคำถามสักเท่าไหร่ เพราะน้องอาจจะยังไม่ชินกับเรา

น้องไกด์  มีอาการสมาธิสั้น และอารมณ์รุนแแรง

       เมื่อสังเกตเสร็จมีการร่วมกันพูดคุยเกี่ยวสิ่งที่ได้จากการสังเกตมโดยป้าหนูใช้วิธีการถาม-ตอบ โดยกล่าวไว้ว่าไม่มีผิดถูก แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสิ่งที่ได้สังเกตที่ผ่านมาและร่วมกันสรุปให้คำแนะนำวิธีการ หรือพฤติกรรมที่แฝงซึ่งอาจจะยังไม่ปรากฏ บอกเล่าประสบการณ์และพฤติกรรมเพิ่มเติมของเด็กพิเศษ ต่อมารับประทานอาหาร และมอบของระลึกร่วมถ่ายภาพกับป้าหนู และกล่าวคำขอบคุณคณะครูที่โรงเรียนเกษมพิทยาจากตัวแทนนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยปี 3

                มอบของที่ระลึกให้กับทางโรงเรียนเกษมพิทยาค่ะ



                            ถ่ายภาพกับป้าหนูเป็นที่ระลึกค่ะ







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 10 กุมภาพันธ์ 2560  กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.

**เข้าร่วมกิจกรรมประกวดมารยาทไทย **


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 รายวิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับ
เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 3 กุมภาพันธ์ 2560  กลุ่มเรียน 101


ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปราชการ**