เด็กปฐมวัย Inclusive Education Experiences Managemant for Early Childhood
วัน ศุกร์ ที่่ 28 เมษายน 2560 กลุ่มเรียน 101
ห้อง 34-703 เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้ติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดโดยใกล้โต๊ะครู
- จัดให้เด็กได้นั่งกับนักเรียนที่ไม่ค่อยหยุกหยิก ไม่ค่อยเล่น ในระหว่างที่เรียน
- ให้เด็กทำกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
กิจกรรมการเล่น คือ การเล่นที่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจเองโดยอาศัยการเป็นสื่อ ซึ่งในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง เป็นต้น
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลาย ๆ คน ไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนและลการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุก ๆ คน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย "การพูดนำของครู"
ลำดับการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นชั้นย่อยๆ (อธิบายส่วนย่อยๆ โดยละเอียด เช่น การรับประทานอาหาร บอกให้หยิบช้อน ช้อนอยู่ข้างๆ ด้านมือ หยิบขึ้นมาแล้วตักพอดีคำ ตักอาหารเข้าปาก เป็นต้น)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน (เป็นกรณีที่เป็นเหตุการณ์ในขณะทำกิจวัตรตนเองไม่ได้ และทำได้ จึงต้องมีการวางแผนที่ละขั้น แล้วนำมาจัดโปรแกรม)
พื้นฐานทักษะทางการเรียน
เป้าหมาย
- ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเเล็ก
- การกรอกน้ำ
- ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ คือ ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ , รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนกิจกรรม
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก
ภาพประกอบระหว่างการเรียน
การนำไปประยุกต์ใช้
ในการจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงการเรียกชื่อเด็ก
ให้เกิดความเข้าใจ ครูต้องพูดซ้ำ ย้ำ ทวนให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
ต้องสบตาระหว่างที่พูดคุย
เลือกใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มเติมความน่าสนใจในการทำกิจกรรม
การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี จดเนื้อหาสาระที่สำคัญ
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี
ให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติ มีการถาม-ตอบ
ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญระหว่างการบรรยายจากอาจารย์
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพ
ตรงต่อเวลา และมีการวางแผนที่ดี อธิบายเนื้อหาสาระ สอดแทรกทักษะการใช้ชีวิต
และให้นักศึกษาตระหนักถึงข้อปฏิบัติในวิชาชีพอยู่เสมอ